เรื่องของที่นอน เป็นเรื่องที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะคนเราใช้เวลากับการนอนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง หรือคิดเป็นเวลา 1 ใน 3 ของชีวิตประจำวัน เคยไหมที่ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกปวดหลัง หรือนอนหลับไม่สนิทติดๆ กันหลายคืน จนเกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง หรือบางคนถึงกับกระดูกสันหลังมีปัญหาระยะยาวก็มีให้เห็นมาแล้ว สาเหตุเหล่านี้อาจเกิดจากที่นอนที่เราใช้นอนอยู่ทุกคืนก็เป็นได้ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องเลือกที่นอนที่สามารถสร้างทั้งความสบาย รองรับสรีระที่เหมาะสม เป็นมิตรต่อกระดูกสันหลังและสุขภาพของเรา แต่ที่นอนแบบไหนดีที่จะสามารถตอบโจทย์การนอนของคุณได้ เรามีคำตอบมาให้แล้ว
เลือกซื้อที่นอนแบบไหนดี เริ่มจากรู้จักวัสดุที่นอน
วัสดุที่มักนำมาใช้ในการทำที่นอนประกอบด้วยวัสดุ 3 ชนิดหลัก ได้แก่ สปริง (Spring), ฟองน้ำ (Foam) และ ยางพารา (Latex) ซึ่งวัสดุแต่ละประเภทก็มีจุดเด่นจุดด้อย ความสบาย และราคาที่แตกต่างกันออกไป ใครที่กำลังสงสัยว่าจะเลือกที่นอนแบบไหนดี ลองมาดูกันก่อนว่าวัสดุแบบไหนที่เหมาะกับความชอบของคุณ
ที่นอนแบบสปริง(SPRING)
ที่นอนแบบสปริงจะให้ความยืดหยุ่นสูง รองรับน้ำหนักได้มาก มีด้วยกันหลายประเภท ได้แก่
- สปริงหัวกลม (Bonnel Spring) – เป็นสปริงที่ได้รับความนิยมและใช้งานอย่างแพร่หลาย หัวด้านบนและด้านล่างเป็นลักษณะกลมคล้ายนาฬิกาทราย จุดเด่นของที่นอนที่ใช้สปริงหัวกลมคือความยืดหยุ่น แข็งแรง รองรับน้ำหนักและระบายอากาศได้ดี อีกทั้งช่วยลดความอับชื้นของที่นอนได้ดี
- สปริงหัวเหลี่ยม (Double Offset Spring) – โครงสร้างของสปริงหัวเหลี่ยมจะมีขดลวดขนาดใหญ่กว่าสปริงทั่วไป ทำให้ที่นอนมีโครงสร้างที่แน่นหนา สามารถรับน้ำหนักและกระจายน้ำหนักได้ดี แข็งแรงทนทาน ลดปัญหาการยุบตัวและเสียงที่เกิดจากการขยับตัว นอกจากนี้ยังระบายอากาศได้ดี ลดความอับชื้นของที่นอนอีกด้วย
การเลือกซื้อที่นอน สำหรับผู้สูงอายุ
โดยส่วนใหญ่ผู้สูงอายุจะมีอาการปวดหลัง เนื่องจากเกิดการเสื่อมไปตามวัยของกระดูกสันหลังและข้อต่อ จึงมักเห็นผู้สูงอายุหลังคด หรือ งอ ปวดร้าวลงขา ซึ่งนับวันคนไทยจะมีอายุที่ยืนยาวขึ้น โดยปัจจุบันคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปี คิดเป็น 9-10%ของประชากร หรือประมาณ 6-7 ล้านคน ต้องมีการเสื่อมของกระดูกสันหลังเกิดขึ้น อาจมีอาการบิดเบี้ยวของกระดูกสันหลัง โก่ง คด งอ เลื่อนไปด้านหน้า ด้านข้าง หรือบริเวณบั้นเอว เป็นต้น การนอนหลับโดยนอนบนที่นอนที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังของผู้สูงอายุได้ โดยวิธีการเลือกซื้อที่นอนที่เหมาะกับผู้สูงอายุมีดังนี้
- ความหนาของที่นอน
ความหนาของที่นอนแบ่งตามประเภทของวัสดุที่ใช้ทำที่นอนเป็นหลัก โดยในปัจจุบันที่นอนจะมีความหนาอยู่ระหว่าง 6-12 นิ้ว ซึ่งความหนาที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุนั้นมีวิธีเลือกดังนี้
1. ถ้าเป็นที่นอนสปริง ควรเลือกที่นอนที่มีความหนามากหน่อยควรมีความหนาของที่นอนเกิน 10 นิ้วขึ้นไป
2.ถ้าเป็นที่นอนยางพารา อาจจะไม่ต้องเน้นที่ความหนามากนักเนื่องจากที่นอนยางพาราถ้ายิ่งหนาจะยิ่งมีน้ำหนักมาก ยากต่อการเปลี่ยนผ้าปูที่นอน หรือเคลื่อนย้ายทำความสะอาด ดังนั้นความหนาของที่นอนยางพารา ไม่ควรเกิน 8 นิ้ว หรือถ้าที่นอนหนาเกิน 8 นิ้วจะต้องมีน้ำหนักพอที่จะสามารถยกเปลี่ยนผ้าปูที่นอนคนเดียวได้
- การเลือกที่นอน
ที่นอนที่เหมาะกับผู้สูงอายุนั้นจะต้องเน้นที่นอนที่มีความแน่นหรือ Density มากหน่อย โดยแบ่งวิธีการเลือกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่นอนสปริง และกลุ่มที่ไม่ใช่สปริง โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ที่นอนสปริง จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ สปริงต่อเนื่อง และสปริงแยกอิสระหรือ Pocket spring ซึ่งถ้าจะให้เหมาะกับผู้สูงอายุควรจะต้องเลือกในกลุ่มของ pocket spring ซึ่งเป็นสปริงแยกอิสระ ทำให้สามารถรองรับน้ำหนักในแต่ละจุดได้แยกจากกัน คือ ถ้าตำแหน่งไหนของร่างกายมีน้ำหนักมากที่นอนก็จะยุบมาก ถ้าตำแหน่งไหนมีน้ำหนักน้อยที่นอนก็จะยุบน้อยนั่นเอง แต่โดยส่วนมากที่นอน pocket spring ถ้ามีความหนาประมาณ 10 นิ้ว จะมีความนุ่มมากซึ่งไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ ถ้าจะให้ที่นอน pocket spring มีความแน่นมากหน่อย อาจจะต้องเลือกความหนาที่มากกว่า 12 นิ้วขึ้นไป
2. ที่นอนกลุ่มที่ไม่ใช่สปริง ที่นอนกลุ่มนี้นั้นแบ่งหลักๆได้เป็น ที่นอนยางพารา และที่นอนยางพาราสังเคราะห์ โดยถ้าให้เหมาะสมควรจะเป็นที่นอนยางพาราธรรมชาติ เพราะมีความยืดหยุ่นที่ดีกว่ายางพาราสังเคราะห์อีกทั้งยังปราศจากสารเคมีอีกด้วย แต่ที่นอนยางพาราธรรมชาติจะมีราคาค่อนข้างสูงมากเมื่อเทียบกับที่นอนยางพาราสังเคราะห์ ซึ่งในกรณีที่ราคาที่นอนยางพาราธรรมชาติเกินงบประมาณในการซื้อที่ตั้งไว้ อาจจะเลือกที่นอนที่มีชั้นวัสดุแบบที่เป็นยางพาราสังเคราะห์อยู่ตรงกลาง และมียางพาราธรรมชาติอยู่ชั้นบนและล่างของที่นอนก็ได้
- ข้อแนะนำหลีกเลี่ยงคือ ที่นอนในกลุ่มที่ใช้วัสดุประเภทนุ่นหรือใยสังเคราะห์ เนื่องจากวัสดุ 2 ชนิดนี้ค่อนข้างกักฝุ่นละออง ในกรณีที่ขาดการดูแลรักษาที่นอนที่ดีอย่างต่อเนื่องจะทำให้มีฝุ่นละอองอยู่ในตัวที่นอนค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นบ่อเกิดของภูมิแพ้ ไรฝุ่น และแบคทีเรีย ซึ่งไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ